|
|
|
|
การเกษตร ประชากรตำบลน้ำก้อ ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ประเภทของการทำการเกษตร ได้แก่ |

 |
ทำนา ส่วนมากจะเป็นการทำนาปี และมีการทำนาปลังบ้างเล็กน้อย |
|
|
|
|

 |
ทำไร่พืชที่เกษตรกรเพาะปลูก จะเป็นพืชระยะสั้นที่ทำหลังนา และเกษตรกรจะทำในช่วงฤดูแล้ง หลังจากเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวข้าว และเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น ยาสูบ ข้าวโพด-อาหารสัตว์ ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว หอม กระเทียม พริก มะเขือ เป็นต้น |
|

 |
ทำสวนผัก ในพื้นที่ ต.น้ำก้อ มีการทำสวนผักตลอดทั้งปี แต่จะมีผลผลิตมากในช่วงฤดูแล้ง ผลผลิตที่ออกในพื้นที่ เช่น หอม กระเทียม ผักชี ผักกาด ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ กะหล่ำปลี เป็นต้น |
|

 |
ทำสวนผลไม้ เช่น สวนมะขาม ฝรั่ง กล้วย มะนาว เป็นต้น |
|

 |
การเลี้ยงสัตว์ เช่น ควาย วัวนม วัวเนื้อ หมู แพะ เป็นต้น |
|

 |
อื่นๆ เช่น สวนยาง สวนไม้ดอก เป็นต้น |
|
การประมง |
|

 |
ในพื้นที่มีการขุดสระเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง และมีสัตว์น้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไว้สำหรับการบริโภคในครอบครัว แต่ไม่มีการประมงเพื่อจำหน่าย แต่จะมีการจับสัตว์น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำก้อ เพื่อการบริโภคและเพื่อจำหน่าย |
|
การปศุสัตว์ |
|

 |
ในพื้นที่เป็นลักษณะเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน เป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงวัวเนื้อ วัวนม ควายหมู แพะ เป็นต้น แต่เมื่อเทียบกับการเกษตรด้านการเพาะปลูก ยังถือว่ามีอัตราส่วนที่น้อยกว่ามาก |
|
|
|
|
พื้นที่ของตำบลน้ำก้อเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลเป็นภูเขาสูงชัน และที่ราบติดเชิงเขา ลักษณะเป็นพื้นที่ลาดเอียงจากตะวันตกลงตะวันออก และมีพื้นที่ราบอยู่ตอนใต้บริเวณพื้นที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการทำการเกษตร ด้านตะวันตกของชุมชนมีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงชัน ซึ่งเป็นพื้นที่บางส่วนของ หมู่ที่ 1,2,12,13 เชื่อมกับเทือกเขาค้อ |
|
|
|
และภูหินร่องกล้า และมีน้ำตกอยู่ต้นน้ำลำห้วยน้ำก้อ ในพื้นที่หมูที่ 2 อยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 5-6 กิโลเมตร มีชื่อว่า "น้ำตกตาดฟ้า" ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลำน้ำก้อ ที่ไหลจากเขาลงสู่พื้นที่ด้านล่าง ไหลผ่านพื้นที่ในหมู่บ้านของตำบลน้ำก้อ คือ พื้นที่ของหมู่ 2,3,4,5,6,7,8,9,10 ในเขามีถ้ำ 3 ถ้ำ เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ฝนที่ตกหนักทำให้น้ำหลาก และพัดพาตะกอนดินมาถมอยู่ทั่วไปชุมชนน้ำก้อ ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาตาดฟ้า บริเวณจุดตัดระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2008 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2372 |
|
|
|
|
เนื่องจากพื้นที่ตำบลน้ำก้อมีพื้นที่บางส่วนเป็นภูเขา จึงทำให้อากาศร้อนจัดในฤดูร้อนหนาวจัด ในฤดูหนาวอุณหภูมิสูงสุด 35.43 องศาเซลเซียส และต่ำสุด 16.50 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 25.97 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนเริ่ม ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มเดือนปลายเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม และฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ |
|
|
|
|
|
|
|
การนับถือศาสนา |

 |
ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99 |
สถาบันทางศาสนา |
วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 13 แห่ง |

 |
วัดเนินสว่างทางหลวง |
หมู่ที่ 1 |

 |
วัดศรีชมชื่น |
หมู่ที่ 4 |
|
|
|

 |
สำนักสงฆ์ป่าช้าห้วยเป้า |
หมู่ที่ 4 |

 |
วัดสันติวิหาร |
หมู่ที่ 5 |
|

 |
สำนักสงฆ์ป่าช้าหนองกก |
หมู่ที่ 6 |

 |
วัดโพธิ์งาม |
หมู่ที่ 7 |
|

 |
วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม |
หมู่ที่ 8 |

 |
สำนักสงฆ์ป่าช้าป่าเสี้ยว |
หมู่ที่ 9 |
|

 |
สำนักสงฆ์ป่าช้าร่องน้ำใส |
หมู่ที่ 10 |

 |
ศูนย์ปฏิบัติธรรมบ้านเปี่ยมสมบูรณ์ |
หมู่ที่ 11 |
|

 |
สำนักสงฆ์อุดมสามัคคี |
หมู่ที่ 11 |

 |
วัดเหมืองใหม่พัฒนา |
หมู่ที่ 12 |
|

 |
สำนักสงฆ์วัดป่าหอคำ |
หมู่ที่ 13 |
|
|
|
|
มัสยิด/สถานที่ละมาด จำนวน 1 แห่ง |
|

 |
มัสยิด |
หมู่ที่ 8 |
|
|
|
|
ศาลเจ้า จำนวน 3 แห่ง |
|

 |
ศาลเจ้าพ่อหอคำ(หอเหนือ) |
หมู่ที่ 13 |

 |
ศาลเจ้าพ่อห้วยปูน |
หมู่ที่ 1 |
|

 |
ศาลเจ้าพ่อหนองกก(หอใต้) |
หมู่ที่ 6 |
|
|
|
|
โบสถ์คริสต์จักร จำนวน 1 แห่ง |
|

 |
โบสถ์คริสต์จักร |
หมู่ที่ 13 |
|
|
|
|
|
ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม |
|
|
 |
|
|
ตำบลน้ำก้อมีหมู่บ้านที่เก่าแก่มานาน ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายรักษาความสงบ ชอบทำบุญใส่บาตรวันพระวันโกน และชอบทำบุญตามฤดูกาล เพื่อสืบสานงานประเพณีวัฒนธรรมเป็นประจำ ตลอดมาทุกปี ดังนี้ |
|
|
|
|

 |
ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรม ไปทำบุญใส่บาตรที่วัด ลูกหลานแสดงความกตัญญูต่อผู้เฒ่าผู้แก่ พ่อแม่ และผู้มีพระคุณ |
|

 |
ประเพณีวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษา กิจกรรม ทำบุญใส่บาตร ถวายปัจจัย สังฆทาน และผ้าอาบน้ำฝน นอกนั้นในวันออกพรรษา จัดให้มีการกวนข้าวทิพย์หรือข้าวมธุปายาส ตักบาตรเทโว และถวายปราสาทผึ้งพร้อมด้วยปัจจัย |
|

 |
ประเพณีวันล่องเรือไฟ หรือวันลอยกระทงกำหนดวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี กิจกรรม สมัยก่อน ผู้เฒ่าผู้แก่จะนำต้นกล้วยมามัดเรียงกันเป็นแพ ประดับด้วยดอกไม้ธูปเทียน พร้อมด้วยสังฆทานและปัจจัยใส่ในแพ แล้วพาลูกหลานนำไปอธิฐานลอยน้ำ แต่ปัจจุบันทำเป็นรูปกระทง ประดับดอกไม้ธูปเทียน ตกแต่งให้สวยงาม นำไปทำพิธีลอยน้ำตามแม่น้ำลำคลอง |
|

 |
ประเพณีวันสงกรานต์ โดยใช้บริเวณวัดเป็นสถานที่จัดงาน กำหนดเวลา 3 วัน ในวันที่ 13 - 15 เมษายนของทุกปี กิจกรรม สรงน้ำพระ สรงน้ำผู้เฒ่าผู้แก่ สรงน้ำพระถ้ำ ไปเที่ยวชมถ้ำบนเขาและน้ำตกตาดฟ้า ปิดทองรอยพระพุทธบาทที่วัด กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้าน เช่นการแข่งขันเล่นชะบ้า การชนไก่ ชักกะเย่อ ดึงเชือก เล่นแม่นางกวด แม่นางโค้ง ฯลฯ |
|

 |
ประเพณีทำบุญเบิกบ้าน ก่อเจดีย์ทราย กำหนดเดือนพฤษภาคมหรือเดือนหกของทุกปี กิจกรรม เอาถังใส่ทราย นำธูปเทียน และฝ้ายมงคลใส่คอขวดตั้งบนทรายในถังหรือคุ นำไปวัด และทุกคนจะนำทรายไปก่อเจดีย์ทรายรวมกัน ตามอายุของแต่ละคน เสร็จแล้วนิมนต์พระมาสวดให้พร โบราณกล่าวว่าถ้าทำแล้วครอบครัวจะอยู่เย็นเป็นสุข |
|

 |
ประเพณีบุญบั้งไฟ นิยมทำกันในเดือน6 หรือเดือน 7 อันเป็นช่วงต้นฤดูฝนก่อนเข้าสู่การทำนา ตกกล้า หว่านไถ เพื่อเป็นการบูชาเทพยดาอารักษ์หลักบ้านหลักเมือง และบูชาพญาแถนขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล โดยมีความเชื่อว่าเมื่อจัดงานนี้แล้วเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จะดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ทำให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ |
|
|
|
|